ศูนย์วิทยาศาสตร์อาหารฮาลาล

Halal Food Science Center

 

Main Menu
 ::- หน้าแรก
 ::- ห้องปฏิบัติการ
 ::- งานวิจัย
 ::- บริการ
 ::- ข่าว
 ::- กิจกรรม
 ::- เครือข่ายฮาลาล
 ::- Links
 ::- ติดต่อ
 ::- ภาควิชาวิทยาศาสตร์การอารหารและโภชนาการ
 

ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์คุณภาพของผลิตภัณฑ์อาหาร

ภาควิชาวิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้ทำการปรับปรุงห้องปฏิบัติการให้มีความพร้อมสำหรับการให้บริการวิเคราะห์คุณภาพของผลิตภัณฑ์อาหาร  เพื่อเป็นการให้บริการแก่ผู้ผลิตอาหาร ให้สามารถผลิตอาหารได้คุณภาพตามมาตรฐานสากล ผลิตอาหารฮาลาลถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม และ ปลอดภัยจากการปนเปื้อนของสารเคมีและจุลินทรีย์ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการเสื่อมเสียของอาหารและทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ

1. ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์สารปนเปื้อน และสารต้องห้ามในผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาล

          อาหารฮาลาล (Halal Food) จำเป็นต้องให้ความสนใจอย่างจริงจัง ในการดำเนินกระบวนการผลิตอาหารให้ถูกต้องตามบัญญัติศาสนาอิสลาม เพื่อเป็นการให้ความเชื่อมั่นแก่กลุ่มผู้บริโภคมุสลิม โดยอาหารที่เป็นที่อนุมัติให้รับประทานได้ (ฮาลาล ) จะต้องไม่ปนเปื้อน/มีส่วนผสมกับอาหารที่เป็นที่ต้องห้าม (ฮารอม) เช่น หมู และสัตว์อื่น ที่ต้องห้ามหรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากสัตว์เหล่านั้น ไขมันสัตว์ที่ไม่ได้ผ่านการเชือดตามหลักการศาสนา รวมทั้งเหล้า เบียร์ ไวน์ เป็นต้น ดังนั้นผลิตภัณฑ์อาหารที่จะขอการรับรองอาหารฮาลาล หรืออาหารที่วางจำหน่ายแล้ว จึงจำเป็นต้องมีการตรวจสอบวิเคราะห์หาสารปนเปื้อน/สารต้องห้ามตามหลักศาสนาอิสลาม โดยอาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทำการวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือและเจ้าหน้าที่ที่มีความชำนาญ เพื่อให้ผู้บริโภคมุสลิมมีความมั่นใจต่อผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาลของไทย

    รายการตรวจวิเคราะห์ ได้แก่

  1. เจลาติน 
  2. กรดไขมัน
  3. แอลกอฮอล์

2. ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์คุณภาพทางจุลชีววิทยา

       อาหารที่มีการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ จะทำให้คุณภาพของอาหารเกิดการเปลี่ยนแปลง และอาจเกิดการเสื่อมเสียหรือเน่าเสีย จุลินทรีย์บางชนิดมีผลให้ผู้บริโภคเกิดความเจ็บป่วยเมื่อรับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคเข้าไป จำนวนและชนิดของจุลินทรีย์ในอาหารสามารถบ่งชี้ให้เห็นถึงความปลอดภัยและคุณภาพอาหาร ดังนั้นการวิเคราะห์คุณภาพอาหารทางจุลชีววิทยาจึงมีความสำคัญในด้านความปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค และเป็นการควบคุมและประกันคุณภาพของอาหาร สำหรับผู้ประกอบการเพื่อให้ความมั่นใจในคุณภาพของผลิตภัณฑ์ต่อผู้บริโภคอีกด้วย

        รายการตรวจวิเคราะห์ ได้แก่

    1. จำนวนแบคทีเรียทั้งหมด (Total Plate Count )
    2. จำนวนยีสต์และรา (Yeast & molds )
    3. โคลิฟอร์มแบคทีเรีย (MPN Coliform )
    4. อี. โคไล (MPN E. coli )
    5. สตาฟิโลค็อกคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus )
    6. ซาลโมเนลลา (Salmonella sp.)
    7. คลอสตริเดียม เพอร์ฟริงเจนต์ (Clostridium perfringens )
    8. วิบริโอ พาราเฮโมไลติคัส (Vibrio parahaemolyticus)
    9. มีโซฟิลิกแบคทีเรีย (Mesophilic bacteria )
    10. เทอร์โมฟิลิกแบคทีเรีย (Thermophilic bacteria )
 


 
 

Go to top of page ::- หน้าแรก|::- ห้องปฏิบัติการ |::- งานวิจัย|::- บริการ|::- ข่าว|::- กิจกรรม|::- เครือข่ายฮาลาล|::- Links ฮาลาล|::- ติดต่อ|::- ภาควิชาวิทยาศาสตร์การอารหารและโภชนาการ|

 
ศูนย์วิทยาศาสตร์อาหารฮาลาล
ภาควิชาวิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการ
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถ.เจริญประดิษฐ์ ต.รูสะมิแล อ.เมือง จ.ปัตตานี 94000
โทรศัพท์ /โทรสาร 073- 334609
Free Web Hosting